วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการใช้โปรแกรม Photoshop

เทคนิคการทำภาพพื้นสะท้อนเงา
ขั้นตอนที่ 1 เปิดภาพขึ้นมา















ขั้นตอนที่ 2 ไดคัทภาพขึ้นมาโดยตัดให้ให้เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องใช้
















ขั้นตอนที่ 3 เลือก Background แล้ว Fill สีลงไปในที่นี้จะเลือกสีขาว













ขั้นตอนที่ 4 ใช้ Movie Tool เลื่อนภาพของเราขึ้นไปข้างบนเสียหน่อย อีกเดี๋ยวต้องใช้พื้นที่














ขั้นตอนที่ 5 กด Ctrl+J เพื่อ copy เลเยอร์ขึ้นมาใหม่ อีกเป็น Layer 1 copy













ขั้นตอนที่ 6 กด Ctrl+T เพื่อเลือก Free Transform คลิกขวาในกรอบ แล้วเลือก Flip Vertical














ขั้นตอนที่ 7 ตอนนี้เราจะเห็นได้ว่ารูปภาพได้แยกร่าง+กลับหัวไขว้
















ขั้นตอนที่ 8 ให้เลือกเลเยอร์ที่รูปตีลังกาอยู่ แล้วทิ่มไปที่ Ctrl+T
















ขั้นตอนที่ 9 คราวนี้ก็จัดการกับเงาสะท้อน














ขั้นตอนที่ 10 ปรับแต่งรูปจนดูสมจริง













ขั้นตอนที่ 11 คลิกปุ่มนี้พร้อมกด Alt














ขั้นตอนที่ 12 ถ้าเกิดปรากฎการณ์รูปหาย (ดังภาพ) แสดงว่าถูกต้องแล้ว














ขั้นตอนที่ 13 ทำการบันทึกภาพก่อน

ขั้นตอนที่ 14 เลือก Gradient Tool(G) ลากจากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบนก็ได้























ขั้นตอนที่ 15 ให้คลิกที่ตำแหน่งดังภาพ













ขั้นตอนที่ 16 ถ้ายังไม่อยากจบเรามาลองทำให้เหมือนเงากระเพื่อมในน้ำ ด้วย Filter>Ocean Ripple














ขั้นตอนที่ 17 หน้าตาของฟิลเตอร์นี้ สามารถตกแต่งตามใจชอบ














ขั้นตอนที่ 18 จะได้รูปภาพประมาณนี้














ขั้นตอนที่ 19 ถ้ายังไม่พอใจ ลองใช้ Text มาประกอบดูก็จะได้ภาพที่สวยงาม


























ผลลัพธ์ที่ได้

สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวอารี คงบัว
2.นางสาวกมลทิพย์ วัดจัง
3.นางสาวพรทิพย์ พูลประภัย (ตัวเอง)
4.นางสาวสาวิตรี ตาละตา

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย
สื่อมัลติมีเดีย
หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์แสดงผล ในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เห็น ได้เลือก และรับฟังข้อมูลข่าวสารผ่านจอคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูล และข่าวสารต่างๆ จะรวมรูปแบบของ ตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และ วีดีโอ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตอบโต้ และมีปฎิสัมพันธ์กับสื่อโดยตรงได้ และเมื่อนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้กับการศึกษา จึงนิยมเรียกว่าสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เอื้อให้นักออกแบบสื่อมัลติมีเดีย สามารถประยุกต์สื่อประเภทต่างๆ มาใช้ร่วมกันได้บนระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างสื่อเหล่านี้ ได้แก่ เสียง วีดีทัศน์ กราฟิก ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ การนำสื่อเหล่านี้มาใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เรารวมเรียกสื่อประเภทนี้ว่า มัลติมีเดีย (Multimedia) การพัฒนาระบบมัลติมีเดียมีความก้าวหน้าเป็นลำดับ จนถึงขั้นที่ผู้ใช้โปรแกรมสามารถโต้ตอบกับระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ กันได้ เช่น การใช้คีย์บอร์ด การใช้เมาส์ การสัมผัสจอภาพ และการใช้เสียง เทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นพร้อมๆ กับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ เช่น การพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูล การพัฒนาหน่วยความจำให้มีขนาดเล็กลง แต่มีความจุมากขึ้น และมีสมรรถนะในการเข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยี ด้านอุปกรณ์ต่อพ่วงสำคัญๆ เช่น เครื่องกราดภาพ (Scanner) เครื่องบันทึกภาพและเสียงระบบดิจิทัล เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) และอื่นๆ ซึ่งล้วนสนับสนุนการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้น่าสนใจ และมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้โปรแกรม แนวคิดใหม่ในการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง บางแนวคิดเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ขัดข้องที่ไม่สามารถนำเสนอด้วยสื่อรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ได้ บางแนวคิดเกิดขึ้นมาพร้อมกับการพัฒนาด้านศักยภาพของระบบคอมพิวเตอร์ เทคนิควิธีการออกแบบดังกล่าวทำให้เกิดคำศัพท์ที่มีคำนิยาม และความหมายที่หลากหลาย เช่น คำว่า มัลติมีเดีย มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive multimedia) ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) และไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)
ความสำคัญของมัลติมีเดียต่อการศึกษา
1.พัฒนาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่สุดที่เรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) ได้พัฒนาเพื่อใช้สนับสนุนภารกิจหลักของประเทศต่างๆ และของโลกมากขึ้น ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วรองลงมา เช่น เครื่องเมนเฟรม (Mainframe) มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) จนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer) ได้นำมาใช้กับระบบงานที่มีภารกิจใหญ่น้อยตามลำดับกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เข้าไปมีบทบาทอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งในปัจจุบัน
การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ อยู่บนพื้นฐานของตัวเลขและรหัสต่างๆ ในระยะแรกของการพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ จึงต้องอาศัยนักเขียนโปรแกรมหลัก และยังเข้าใจว่าผู้ที่จะทำงานเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ต้องมีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ควบคู่ไปด้วย ปัจจุบันแม้คนส่วนมากคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นระบบที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่สภาพแวดล้อมของสังคมและการออกแบบคอมพิวเตอร์ที่ง่ายต่อการใช้งาน ช่วยเปลี่ยนแนวคิดจาก "ระบบคอมพิวเตอร์มีไว้เพื่อนักคอมพิวเตอร์"เป็น"ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อคนทุกคน"
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
เริ่มจากวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์มีด้วยกัน 4 ยุค ยุคที่ 4 คือยุคปัจจุบันคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างวงจรรวมความจุสูงมาก VLSI (Very Large Scale Integration) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลาย ๆ วงจรเข้ามาอยู่ในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโปสเซอร์เซอร์ ขึ้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูลสูง และมีการพัฒนา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องให้ทำงานร่วมกันและติดต่อกันได้โดยตรง
คอมพิวเตอร์กับการศึกษา
มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานด้านการศึกษาใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ
- ด้านการบริหาร มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อช่วยในงานบริหารจัดการ ได้แก่ งานทะเบียน งานธุรการ ประวัติและข้อมูลการเงินและพัสดุ การจัดตารางสอน การแจ้งผลการเรียน ผลการสอบในแต่ละภาค และเกรดเฉลี่ย เป็นต้น ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้การดำเนินงานมีความสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้เป็นอย่างมาก
- ด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยอาจใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะต่าง ๆ เช่น การนำเสนอเนื้อหา (Presentation) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) บทเรียนบนเว็บ (WBI) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีเครือข่ายเจริญก้าวหน้า ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในลักษณะของ e-Learning ได้
ประเภทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้
ประเภทของสื่อมัลติมีเดียมี 2 ประเภทดังนี้
- สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล คือ นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มนี้คือ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก และเชื่อในทฤษฎีการวางเงื่อนไข โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนอง การให้การเสริมแรง ทฤษฎีนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่มนุษย์ตอบสนองต่อสิ่งเร้า และพฤติกรรมการตอบสนองจะเข้มข้นขึ้นหากได้รับการเสริมแรงที่เหมาะสมเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบ เพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูลสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา โดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมเป็นฐานในการนำเสนอข้อมูลด้วย เช่น ควบคุมการเสนอภาพสไลด์มัลติวิชั่น ควบคุมการนำเสนอในรูปแบบของวิดีโอเชิงโต้ตอบ (Interactive Video) และเครื่องเล่นซีดี-รอม ให้เสนอภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ตามเนื้อหาบทเรียนที่ปรากฏอยู่บนจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปการสื่อสารทางเดียว
- สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการผลิตแฟ้มสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา และนำเสนอแฟ้มที่ผลิตแล้วแก่ผู้ศึกษา ผู้ศึกษาก็เพียงแต่เปิดแฟ้มเพื่อเรียน หรือใช้งาน ตามที่โปรแกรมสำเร็จรูปกำหนดไว้ ก็จะได้เนื้อหาลักษณะต่าง ๆ อย่างครบถ้วน โดยการนำเสนอข้อมูลของสื่อมัลติมีเดียนี้ จะเป็นไปในลักษณะสื่อมัลติมีเดียเชิงปฎิสัมพันธ์ (Interactive)
องค์ประกอบของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา / เครื่องมือที่ใช้สร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
เริ่มจากตัวอักษร ควรคำนึงถึงรูปแบบ ขนาด ลักษณะ การจัดตำแหน่ง สีและข้อแนะนำในการใช้ สองกราฟิก กราฟิก หมายถึง ภาพที่เกิดจากการสร้าง ดัดแปลง หรือพิมพ์สิ่งที่เป็นภาพด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจเป็นภาพลายเส้น ภาพระบายสี ภาพถ่าย แผน ภูมิ สัญลักษณ์ หรือตัวอักษร ที่สร้างด้วยในโปรแกรมสร้างภาพ เช่น PhotoShop สามภาพเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหวที่ใช้ในสื่อมัลติมีเดีย เรียกว่า ภาพ Animation เป็นการนำภาพกราฟิกที่วาดเป็นภาพนิ่งไว้มานำเสนอให้ต่อเนื่องกัน คล้ายเกิดภาพเคลื่อน ไหวในภาพยนตร์ ทำให้มองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว สี่เสียง เสียง เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการรับรู้รองมาจากประสาทตาการเรียนรู้โดยการได้ยินและได้เห็นจะสูงถึง 94% และการจำได้จะเพิ่มเป็น 50% และสุดท้ายวีดีโอ วิดีโอ นับเป็นสื่ออีกรูปหนึ่งที่นิยมใช้กับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เนื่องจากสามารถแสดงผลได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงไปพร้อม ๆ กัน ทำให้เกิดความน่าสนใจในการนำเสนอ
- การผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา เช่น เลือกใช้สื่อที่มีอยู่แล้ว ดำเนินการผลิตเอาในสถานศึกษา ร่วมกับผู้อื่นผลิต การจัดสรรทรัพยากร อุปกรณ์ และบุคลากร การนำสื่อไปใช้ในการเรียนการสอน และเผยแพร่ในห้องสมุด ให้ยืมแผ่น CDหรือเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต การประเมินผลเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น
- อุปกรณ์การผลิต สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ขั้นตอนการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา มี 5 ขั้นตอน เตรียม ออกแบบ สร้างโปรแกรม การประเมิน ปรับปรุงและเผยแพร่ ปัญหาการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ด้านนโยบายการบริหาร และการจัดการ ด้านการผลิต ด้านการจัดหา
- ข้อดีของการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา เช่น ช่วยให้การออกแบบบทเรียน ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย สถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน เป็นต้น
- ข้อจำกัดของการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา มีคุณภาพเหมาะสมตามหลักทางจิตวิทยา ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง มีตัวแปรที่เป็นปัญหานอกเหนือจากการควบคุมมาก เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดียมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เป็นต้น
- ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา ได้แก่ ความคุ้มค่า เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของสื่อ เลือกใช้ให้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมาย เลือกใช้ให้เหมาะกับกระบวนการเรียนการสอน เลือกใช้ให้เหมาะกับขนาดของกลุ่มเป้าหมาย เลือกให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มี เลือกใช้สื่อที่มีอยู่แล้วแทนการสร้างเอง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้ดี และเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และจรรยาบรรณเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานี้ มีข้อแตกต่างจากสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เพื่อการนำเสนอข้อมูลหรือการประชาสัมพันธ์อยู่หลายกับทุกสาขาอาชีพ

สรุป
คำว่า Multimedia นิยมพูดทับศัพท์ และใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้น คำจำกัดความของคำว่า Multimedia ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนไปบ้าง ภาพทัศน์เดิมซึ่งเป็นการต่อเชื่อมอุปกรณ์หลายประเภทเข้ามาใช้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ และต้องมีการจัดเตรียมเพื่อนำเสนออย่างพิถีพิถัน กลายเป็นการมองภาพของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถนำเสนอสื่อหลากหลายประเภท ผ่านจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบอื่น โดยความยากจะอยู่ที่ขั้นตอนการเขียนหรือออกแบบโปรแกรมส่วนการนำเสนอนั้นง่ายไม่ซับซ้อน
คำว่า "สื่อมัลติมีเดีย" เป็นการใช้คำซ้อนกัน คือคำว่า สื่อ + Multimedia ซึ่ง Multimedia ก็มีความหมายว่า สื่อประสมหรือสื่อหลายสื่ออยู่แล้ว เมื่อมาผนวกกันจึงเกิดคำซ้ำขึ้น คือ สื่อ + สื่อประสม คำว่าสื่อมัลติมีเดียที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ จึงให้มีวัตถุประสงค์เฉพาะซึ่งได้อธิบายไว้ในตอนต้นของบทนี้แล้ว
ปัจจุบัน สื่อมัลติมีเดียบนเว็บและสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การออกแบบสื่อมัลติมีเดียมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น หากออกแบบเพื่อการเรียนการสอน เราเรียกว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer-Assisted Instruction (CAI) สื่อมัลติมีเดียไม่จำเป็นต้องเป็น CAI เสมอไป ข้อมูลต่างๆ ที่เราสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตซึ่งมีภาพและเสียงก็ถือเป็นสื่อมัลติมีเดีย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สถาบันการศึกษาเกือบทุกระดับได้เล็งเห็นความสำคัญของสื่อมัลติมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง CAI แต่เนื่องจากสื่อมัลติมีเดียที่จำหน่ายมีราคาค่อนข้างแพงและไม่ค่อยสอดคล้องกับของหลักสูตร การลงทุนจึงไม่ค่อยได้ผลเต็มที่ สถาบันการศึกษาหลายแห่งแก้ปัญหาด้วยการผลิตสื่อมัลติมีเดียเอง ซึ่งแม้จะเป็นทางออกที่ดี แต่ในเชิงปฏิบัติมีอุปสรรคมากพอสมควร แนวคิดในการแก้ปัญหานี้น่าจะเป็นการผสมผสานระหว่างการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการผลิตขององค์กรเอกชน และขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้หน่วยงานหลักที่ดูแลด้านการศึกษาของประเทศ จัดระบบการผลิตที่เต็มรูปแบบและต่อเนื่องอีกทางหนึ่งได้